สื่อคณิตศาสตร์

โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ข้อสอบปลายภาค การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล

ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรุ้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหา และเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจตัวเลขได้ง่าย โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก ควรคำนึงถึงการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย

2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร

ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2 การวัด

สาระที่ 3 เรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

หลักการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์หรือการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยนั้น ควรมีลักษณะดังนี้

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว

2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด

3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดีการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก

5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรมวิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก

6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก เพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ ในสถานการณ์ใหม่ ๆ

7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญย่อมรู้จักใช้สภาพการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ และเห็นได้ขณะนั้นมาทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านจำนวน

8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ การสอนความคิดรวบยอดเรื่องปริมาณ ขนาด และรูปร่างต่าง ๆ จะต้องอาศัยการสอนแบบค่อย ๆ สอดแทรกไปตามธรรมชาติ อาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุยแบบตะล่อมเข้าหา

9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขเช่นในวันที่มีอากาศผิดปกติ ครูควรให้เด็กได้อ่านเทอร์โมมิเตอร์อันใหญ่ที่แขวนอยู่ในห้องเรียน และมีการบันทึกอุณหภูมิลงในปฏิทินด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในวันอื่น ๆ และใช้ในการอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การนับเลขอย่างอื่น

10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง

11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุงนอกจากนี้ครูบางคนอาจใช้วิธีจดบันทึกชื่อของเด็กไว้ใต้หัวข้อหนึ่ง ๆ เพื่อให้ทราบว่าเด็กคนใดยังไม่มีความเข้าใจ และต้องจัดกิจกรรมเพิ่มเติมอีก

12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียวการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวันในแต่ละคาบ ครูควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว

13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยากการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเลขของเด็กปฐมวัยจะต้องผ่านกระบวนการเล่น

14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้วการใช้สัญลักษณ์ตัวเลข

15. ครูต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์

3.จงเลือกและอธิบายสาระทางศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ

ตอบ สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

1. จำนวนนับใช่บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ

2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ

3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ

4. ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน

5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้

ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

ตัวเลขไทย ได้แก่ 0 ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ

6. จำนวนสองจำนวนเมื่อมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย

8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆจะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ

9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ... เป็นการบอกอันดับที่

10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆสองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น

11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 การวัด

1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง

2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน

3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ

4. การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย

5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน

6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ

7. การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย

8. การตวงสิ่งของต่างๆอาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน

9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ

10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย

11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย

12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ

13. ธนบัตรที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ

14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย

15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆคือ กลางวันและกลางคืน

16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพะ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

4.จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ตอบ แนวทางการจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้

1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนมีพัฒนาการตามเต็มศักยภาพ

2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษะการเรียนรู้ของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

3. จัดประสบการณ์โดยบูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้

4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำ นำเสนอด้วยตนเอง

5. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่

6. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ บุคคล และมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี ทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดประสบการณ์ด้วย

8. จัดประสบการณ์ตามที่ได้วางแผนไว้และจากสภาพจริงที่เกิดขึ้น

9. ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการวางแผน สนับสนุนสื่อ เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงประเมินพัฒนาการในการจักประสบการณ์

10. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก โดยการสังเกตุ จดบันทึกพฤติกรรมของเด็กในขณะที่เด็กทำกิจกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไป

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นหา แก้ปัญหาด้วยตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และพ่อแม่ โดยครูเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อม อำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมควรให้เด็กเรียนผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและควรจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายวิธี กิจกรรมต่างๆต้องมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กจะได้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยากเกินไปที่จะเรียนรู้





5. ท่านมีวิธีในการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม

ตอบ กิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวัน 11กุมภาพันธ์ 2553


สวัสดีค่ะวันนี้ก็เป็นอีกวันแล้วนะค่ะ ที่มีการนำเสนอการสอนของกลุ่ม A หน่วย แมลง เพื่อนๆกลุ่มA เทคนิคการสอนที่หลากหลายและแทรกคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย ก่อนที่เพื่อนจะนำเสนออาจารย์ก็ให้พวกเรานักศึกษาลงชื่อ Practicum 2 และอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาของ2โรงเรียนที่ต้องย้ายที่ฝึกใหม่ เนื่องจากปัญหาโครงการสหกิจที่กำหนด ซึ่งโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยที่ดิฉันไปสังเกตก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเราในกลุ่มต่างตกใจมากค่ะ เพราะไม่คิดว่าต้องย้าย ยิ่งกว่านั้นอาจารย์ให้ออกไปหนึ่งคนอีกด้วย พวกเราเลยไปขออาจารย์ให้เป็น 2 คนเพราะจะได้มีเพื่อนไปด้วยกัน สุดท้ายดิฉันและเพื่อนอีกคนที่ต้องออก พวกเราในกลุ่มต่างพากันเสียใจมากที่ต้องแยกกัน แต่ไม่นานก็กลับมาดีใจอีกครั้งที่ได้กลับมาอยู่โรงเรียนเดิมต้อง ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะที่เห็นใจพวกเรา

ตลอดการนำเสนอทั้ง 2 กลุ่มที่ผ่านมา พวกเราได้คำแนะนำมากมายค่ะ และจะนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะนำไปใช้ในการสอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ





บันทึกการเข้าเรียนวัน 10 กุมภาพันธ์ 2553

วันนี้เป็นวันที่พวกเรามีการเรียนการสอนชดเชยค่ะ อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอการสอน พร้อมกับแผนการสอน โดยอาจารย์ให้กลุ่ม A หรือB กลุ่มใดก็ได้ออกก่อน แต่อยากให้พวกเราเริ่มตั้งแต่อนุบาล 1 แต่ไม่มีเพื่อนกลุ่มไหนออกก่อน พวกเรากลุ่ม B หน่วย ดอกไม้ อนุบาล 2 เลยออกก่อน พวกเราในกลุ่มตื่นเต้นมากๆค่ะ ต่างคนต่างเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาให้พร้อม พอถึงคิวของดิฉันที่ต้องสอนหน่วย ประโยชน์ของดอกกุหลาบ เป็นการสอนในวันที่ 3 ค่ะ พอสอนไปได้หน่อยหนึ่งอาจารย์ก็คอมเม้นต์ ว่า เรื่องประโยชน์ของกุหลาบน้อยไป และให้ข้อแนะนำถึงเทคนิคการสอนว่าควรปรับให้เป็นนิทานหรือภาพตัดต่อดีกว่า เพราะสิ่งที่เตรียมมา คือ การทำการ์ดวันวาเลนไทน์จากประโยชน์กลีบกุหลาบ ซึ่งมันควรเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ไม่ใช่กิจกรรมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ และอาจารย์ก็ให้ไปแก้ไขแผนการสอนให้สมบรูณ์ พอเพื่อนๆนำเสนอครบ5 วันแล้ว อาจารย์ก็ให้พวกเราไปปรับเปลี่ยนการสอนที่ให้ต่อเนื่องกัน เปรียบเหมือนการเขียนแผนคนเดียวที่เข้าใจและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นก็เป็นกลุ่มอนุบาล 1และ 3 อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเทคนิคแตกต่างๆออกกันไปค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากมาย

เวลาก็ล่วงเลยมาจนถึง 5 โมงเย็นแล้ว เพื่อนๆเริ่มง่วงนอน อยากกลับบ้านกันแล้ว ก็เพราะพวกเราเรียนตั้งแต่เที่ยงจนเย็นนี้แหละ โชคดีมากที่มีประตูเปิดจากคุณป้าแม่บ้าน ให้อาจารย์รีบปล่อยนักศึกษา เพราะวันพุธจะมีการปิดตึกเร็ว อาจารย์ก็เลยให้พวกเรามานำเสนอต่อในวันพรุ่งนี้ตามเวลาเรียนปกติ แล้วอาจารย์ก็ให้พวกเราที่นำเสนอไปแล้วกลับไปแก้ไขแล้วมาให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง




บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 28 มกราคม 2553

วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานของนักศึกษาที่ส่งงานในแต่ละกลุ่ม เรื่อง แผนการสอน

ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็ได้เรื่องที่แตกต่างกัน กลุ่ม Aเรื่องแมลงและ กลุ่มB เรื่องดอกไม้

ซึ่งจากการดูงานของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มที่ส่งมา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาช่วยกันระดม

ความคิดเห็นเพิ่มเติม ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งก็ได้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำต่างๆ

เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ให้ได้เนื้อหาที่ครอบคลุม และสมบูรณ์มากกว่าเดิมค่ะ






บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้เราได้กลับมาเรียนห้องคอมพิวเตอร์อย่างเดิม อาจารย์ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่ว่างานของแต่ละคนเปิดไม่ได้ อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำงานจากเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุ แล้วคุยกันว่าจะอยู่ระดับไหน โดยให้มีการแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มใหญ่ ระหว่างกลุ่ม A และ B กลุ่มของดิฉันเราได้กลุ่มB ค่ะ พวกเราเลือกหน่วยดอกไม้ค่ะ แล้วก็ได้ชั้นอนุบาล 2ด้วย

สำหรับงานอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายให้คือ การร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ แล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการร้อยลูกปัดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร จนทุกคนเข้าใจค่ะ


วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 14 มกราคม 2553

           บันทึกการเรียนสำหรับวันนี้ วันนี้ได้เปลี่ยนห้องเรียนมาเป็นห้อง 233 ค่ะ เวลามานั้งเรียนที่ห้องนี้ก็จะรู้สึกว่าการเข้าใจมากขึ้น เพราะอาจจะเป็นว่าเราติดเล่นคอมกันมากเกินไปและการตอบคำถาม อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนให้เขียนแผนคนละวัน โดยเลือกหน่วยที่คิดว่าดีที่สุดแล้วให้นำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ "คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา

คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ

ปัจจุบันนี้คณิตศาสตร์ได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก

เราจะพบว่าทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาใน

ชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้า

การบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะ

ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสฅร์ให้ดี และฐานต้องยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณิตศาสตร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองและครูให้ความสนใจ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา

การเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงจำเป็นต้องเริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำให้เด็กเข้าใจให้ได้ มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ ด้วยการท่อง 1- 10 หรือเขียนตัวเลขได้ การทำซ้ำๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัว ของจริง ลองนับ จับคู่จำนวนกับตัวเลข ทำบ่อยๆ จนเกิดความแม่นยำ จะจดจำได้นาน เมื่อเด็กเข้าใจจำนวนและตัวเลขแล้วจึงค่อยเสนอกฏเกณฑ์ที่ใช้กับตัวเลขเหล่านั้นโยงให้เห็นความหมายระหว่างตัวเลข เครื่องหมาย ที่แทนจำนวน ปริมาณที่มีอยู่ และเปลี่ยนไป กฏเกณฑ์นี้ต้องค่อย ๆ ไต่ไปตามลำดับ จากง่ายไปสู่ซับซ้อน การทำซ้ำ ทำให้เกิดวงจรในสมอง จนเกิดความแม่นยำ ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการของคณิตศาสตร์ชัดเจน

เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย

ทำอย่างไรให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ซึ่งแน่นอน อะไรที่สนุก เด็กต้องชอบ ดังนั้นความสนุกจึงเป็นแรงจูงใจที่วิเศษ การเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเกม ปริศนาต่างๆ ที่ท้าทาย และไม่ยากเกินวัยเด็ก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ การเรียนรู้ บนพื้นฐานของอารมณ์ที่สนุกและชอบ...ย่อมเพิ่มพลังในการเรียนรู้

แหล่งที่มา : จรรยาพร ยอดแก้ว ศึกษานิเทศก์ สพท.นครปฐม เขต 1

แหล่งที่มา : http://www.techno.bopp.go.th/

รวบรวม : นางสาวรชตวรรณ ศิริรัตน์

ความสำคัญของคณิตศาสตร์



สมทรง ดอนแก้วบัว (2528 : 8-12) ได้สรุปความสำคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

1. ความเป็นผู้มีเหตุผล ในการเรียนการสอนวิชาเรขาคณิต เราต้องใช้เหตุผลมาพิสูจน์

โดยใช้ทฤษฎีมาประกอบการพิสูจน์ตามขั้นตอน คุณลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนคณิตศาสตร์เป็นผู้ ที่มีเหตุผล

2. ความเป็นผู้ที่มีนิสัยละเอียดถี่ถ้วน สุขุมรอบคอบ การเรียนคณิตศาสตร์จะมีการทำ

แบบฝึกหัด จะทำให้ได้ฝึกฝนความละเอียดถี่ถ้วนและสุขุมรอบคอบ จากการต้องใช้เหตุผล

3. ความเป็นผู้ที่มีไหวพริบและปฏิภาณที่ดีขึ้น การทำโจทย์แบบฝึกหัดในวิชา

คณิตศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ หลายอย่างที่จะนำมาพิสูจน์หาคำตอบ

4. เป็นการฝึกพูดและเขียน เมื่อผู้เรียนคณิตศาสตร์ได้คิด แก้ปัญหาตามขั้นตอน วิธีการ

ทางคณิตศาสตร์แล้วก็จะได้พูด เขียน เสนอแนะเหตุผลที่ตนได้ลองผิดลองถูกจนหาคำตอบได้

5. เป็นการฝึกใช้ระบบและวิธีการ การเรียนคณิตศาสตร์ เรียนโดยฝึกความละเอียด

รอบคอบตามระเบียบแบบแผนและวิธีการ ซึ่งเป็นระบบและวิธีการที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน



อรุณี จันทร์ศิลา (2536 : 8) ได้สรุปความสำคัญทางคณิตศาสตร์ไว้ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชา

ที่สำคัญยิ่ง เป็นเรื่องการเรียนรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน

แหล่งที่มา http://www.krooo.com/areework/2.doc

รวบรวม : นางสาวรัชนี บุตรวาปี



ยุพิน พิพิธกุล (2519 : 1) ได้สรุปความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ว่า คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสร้างสรรค์จิตใจ คำว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่หมายความเพียงตัวเลข ซึ่งเกี่ยวกับจำนวนต่าง ๆ และการคำนวณ คณิตศาสตร์มีความหมายมากกว่าพีชคณิตที่จะศึกษาเพียงรูปร่างและขนาด มีความหมายมากกว่าตรีโกณมิติซึ่งเกี่ยวกับการวัดระยะทาง มีความหมายมากกว่าวิชาสถิติ และวิชาแคลคูลัส ฯลฯซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น

2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms) เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้

3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว สัจพจน์ คุณสมบัติ กฎ ซึ่งทำให้เกิดความคิด

ที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป

4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์

5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด ของความคิดและความสัมพันธ์ การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

แหล่งที่มา http://gotoknow.org/blog/kru-dutsadee/294221

รวบรวม : นางสาวนงนุช พรมบุตร



ความสำคัญของคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข



แหล่งที่มา http://mathssrinarongpit.blogspot.com/2007/09/blog-post.html

รวบรวม : นางสาวสาวิตรี ศรีสังวรณ์



การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มคณิตศาสตร์ ผู้เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน มีความสามารถในการคิดในใจ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพ

การจัดเนื้อหาสาระให้แก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงความยากง่าย ความต่อเนื่อง ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้และทักษะกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ได้ทั้งทางคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความรู้ และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น ทำได้หลายวิธี และต้องคำนึงถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยในการรักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

- การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น ทั้งนี้ ควรให้การสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนให้เป็นไปอย่างมีศักยภาพ

- การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา สถานที่ ควรมีการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์ เช่น สถานศึกษา โรงเรียน บ้าน สมาคม ชมรม ชุมนุม ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์

แหล่งที่มา วิไลรักษ์ บุญงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรการสอน (คณิตศาสตร์)

รวบรวม : นางสาววรัญญา สุโข



จากความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า

คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552

        วันนี้อาจารย์ให้ทำบล็อกให้สมบูรณ์ ถ้าขาดตรงไหนก็ให้แก้ไขและเติมเต็มให้สมบูรณ์
        การเข้าชั้นเรียนนั้นต้องระบุวันที่และบอกเล่าว่าวันนั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร บรรยากาศการเรียนบันทึกความรู้ ความเข้าใจ และผลงานที่ได้จากการเรียนวันนั้น สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิด และข้อเสนอแนะต่างที่มีต่อเรื่องนั้น
       ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ฯ จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4-5 คน โดยกลุ่มของฉัน ได้เรื่อง "ความหมายและความสำคัญของคณิตศาสตร์" โดยให้ต่างคนต่างหาและนำงานมารวบรวมกับเพื่อนๆในกลุ่ม จากนั้นก็รวบรวมเนื้อหาต่างๆและส่งE-mail ให้อาจารย์ ค่ะ
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552


วันแรกของรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้เขียนบล็อกก็ดีใจมากและก็จะนำความรู้มาใส่ในบล็อกให้มากที่สุด แต่เครื่องคอมของหนูมันใช้ไม่ได้ก็เลยไปใช้เครื่องของเพื่อนงานเลยช้ากว่า

อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเขียนบล็อกอันใหม่ จากนั้นก็ให้เพิ่มเติมในส่วนต่างๆของบล็อก เช่น ปฏิทิน นาฬิกา งานวิจัย เพลง บทความ เป็นต้น

 อาจารย์ได้อธิบายถึงแนวการสอน พร้อมบอกวิธีการเขียนเนื้อหาลงในบล็อกว่าควรใส่เนื้อหาอย่างไรไปบ้าง

จะตั้งใจนำเนื้อหาที่อาจารย์สอน มาถ่ายทอดความรู้งบล็อกให้มากที่สุดค่ะ